“กรมประมง ทำลายของกลางซากของสัตว์ป่า ครั้งใหญ่หลังคดีสิ้นสุด มูลค่า5.5ล้านบาท ทั้งซากม้าน้ำแห้ง ปลาจิ้มฟันจระเข้แห้ง ปะการัง กัลปังหา จระเข้ เต่า ตะพาบน้ำไทย ดาวทะเล เปลือกหอย หอยงวงช้างตากแห้ง จากผู้ลักลอบขายทำยา ทำเครื่องประดับ ตกแต่งอควาเรียม”

“กรมประมง ทำลายของกลางซากของสัตว์ป่า ครั้งใหญ่หลังคดีสิ้นสุด มูลค่า5.5ล้านบาท

ทั้งซากม้าน้ำแห้ง ปลาจิ้มฟันจระเข้แห้ง ปะการัง กัลปังหา จระเข้ เต่า ตะพาบน้ำไทย ดาวทะเล เปลือกหอย หอยงวงช้างตากแห้ง จากผู้ลักลอบขายทำยา ทำเครื่องประดับ ตกแต่งอควาเรียม”

 

 

เมื่อวันที่ 16 ส.ค.นายคณิศร์ นาคสังข์ ผู้อำนวยการกองควบคุมการค้าสัตว์น้ำและปัจจัยการผลิต กล่าวหลังเป็นประธานในพิธีการทำลายของกลางซากของสัตว์ป่าซึ่งเป็นสัตว์น้ำที่คดีสิ้นสุดและตกเป็นของแผ่นดิน ว่าการทำลายของกลางในครั้งนี้ ดำเนินการตามระเบียบกรมประมงว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับสัตว์ป่าหรือซากสัตว์ป่าซึ่งเป็นสัตว์น้ำที่ตกเป็นของแผ่นดิน และมีสภาพชำรุดไม่สามารถใช้งานและเก็บรักษาไว้ได้ โดยของกลางที่นำมาทำลายในวันนี้ กรมประมงได้รับมอบมาจากหน่วยงานต่างๆ ได้แก่ จากกรมศุลการกร 5 คดี จากการจับกุมผู้ลักลอบนำเข้ามาในราชอาณาจักร 1 คดี จากการตรวจยึดบนอาคารผู้โดยสาร 10 คดี และจากการจับกุมการลักลอบค้าและครอบครองสัตว์ป่าภายในประเทศ 24 คดี ซึ่งกรมประมงมีการดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดในการลักลอบนำเข้า ส่งออก ค้า หรือครอบครองสัตว์ป่าหรือซากของสัตว์ป่าคุ้มครองที่ผิดกฎหมาย รวมถึงการลักลอบนำเข้าส่งออกสัตว์ป่าหรือซากสัตว์ป่าที่ปรากฎตามบัญชีแนบท้ายประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดชนิดของสัตว์ป่า ซากของสัตว์ป่า และผลิตภัณฑ์ที่ทำจากซากของสัตว์ป่าที่ห้ามนำเข้าหรือส่งออกที่ไม่ได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมประมง และการดำเนินคดีที่เกี่ยวข้องกับการกระทำผิดตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 โดยคดีสิ้นสุดแล้ว

สำหรับของกลางที่นำมาทำลายด้วยวิธีการบดและฝังกลบในครั้งนี้ เป็นของกลาง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 – 2561 ซึ่งคดีสิ้นสุดแล้วตกเป็นของแผ่นดิน และมีสภาพชำรุดผุพังและเสื่อมสภาพ โดยเป็นการทำลายตามระเบียบกรมประมงว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับสัตว์ป่าหรือซากสัตว์ป่าซึ่งเป็นสัตว์น้ำที่ตกเป็นของแผ่นดิน พ.ศ.2541 ซึ่งประกอบด้วยของกลางที่มีการกระทำความผิด จำนวน 40 คดี จำนวน 10 รายการมีมูลค่าทั้งสิ้นประมาณ 5,500,000 บาท ได้แก่
1. ซากม้าน้ำแห้ง น้ำหนัก 130.6 กิโลกรัม
2. ซากปลาจิ้มฟันจระเข้แห้ง น้ำหนัก 7.2 กิโลกรัม
3. ซากปะการัง น้ำหนัก 155 กิโลกรัม และอีก 57 ชิ้น
4. ซากกัลปังหา จำนวน 204 ชิ้น
5. ซากจระเข้ จำนวน 98 ชิ้น
6. ซากเต่า จำนวน 312 ชิ้น
7. ซากตะพาบน้ำไทย จำนวน 2 ชิ้น
8. ซากดาวทะเล จำนวน 9 ชิ้น
9. ซากเปลือกหอย จำนวน 2,225 ชิ้น
10. ซากหอยงวงช้างตากแห้ง น้ำหนัก 9 กิโลกรัม

ซึ่งส่วนใหญ่ของกลางเหล่านี้จะมีการลักลอบนำไปขายทำยา ทำเครื่องประดับ หรือนำไปตกแต่งอควาเรียม เรื่องมูลค่าความเสียหายก็ส่วนหนึ่ง แต่คุณค่าของทรัพยากรเหล่านี้ บางชนิดอยู่ในสภาวะที่ใกล้สูญพันธุ์ บางชนิดกว่าจะเจริญเติบโตขึ้นมาใช้เวลาเป็นร้อยปี มันจึงเป็นความสูญเสียที่ไม่อาจที่จะประเมินค่าได้ โดยปัจจุบันปัญหาดังกล่าวทวีความรุนแรงมากขึ้น มีการลักลอบการนำเข้าด้วยวิธีการที่หลากหลาย และหลายช่องทางเพื่อหลบเลี่ยงการจับกุมจากเจ้าหน้าที่ ซึ่งการกระทำความผิดนี้ถือว่าเป็นอาชญากรรม มีโทษจำคุกไม่เกินสี่ปี ปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ส่งผลการลักลอบในแต่ละครั้งส่งผลต่อภาพลักษณ์ในด้านการค้าสัตว์ป่าที่ผิดกฎหมายของประเทศไทยเป็นอย่างยิ่ง

 

 

 

 

 

You May Have Missed!

1 Minute
ข่าวประชาสัมพันธ์
เปิดรับสมัครแล้ว HaadThip Fan Run 2024 “แฟนรัน ฟันแลนด์ ดินแดนมหัศจรรย์” หาดสมิหลา จ.สงขลา
1 Minute
ข่าวประชาสัมพันธ์
ทรู ดิจิทัล ร่วมเสริมศักยภาพ ททท. อัปสกิลดิจิทัลผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยว พัฒนาหลักสูตร “การบริหารการท่องเที่ยวสำหรับผู้บริหารระดับสูง” รุ่นที่ 5 ปี 2567
2 Minutes
ข่าวประชาสัมพันธ์ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เกษตร
 อะกริเทคนิก้า เอเชีย และฮอร์ติ เอเชีย และผู้นำภาคอุตสาหกรรมการเกษตรพร้อมขับเคลื่อนเพื่อการเกษตรยั่งยืนในอนาคต
2 Minutes
ข่าวประชาสัมพันธ์
เหล่านักธุรกิจ ตบเท้าเข้ารับรางวัลอันทรงเกียรติระดับนานาชาติ “THE WORLD’S HIGHEST AWARDS 2024”