เฉลิมชัย สั่งตั้งศูนย์ส่วนหน้ารับแนวร่องฝนภาคลงใต้ ชี้เป้าฝนลงใต้ทำ 12 จ. เสี่ยงท่วม

เฉลิมชัย สั่งตั้งศูนย์ส่วนหน้ารับแนวร่องฝนภาคลงใต้ ชี้เป้าฝนลงใต้ทำ 12 จ. เสี่ยงท่วม

 

 

เมื่อวันที่ 2 ต.ค.นายทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยภายหลังเป็นประธานในการประชุมคณะอนุกรรมการติดตามและวิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์น้ำ ครั้งที่ 20/2562 ว่าที่ประชุมได้หารือเพื่อวางแผนในการบริหารน้ำและบริหารสถานการณ์ ตามคำสั่งของกองอำนวยการน้ำแห่งชาติที่ได้สั่งการ เพื่อให้ได้มาตรการเชิงรุกสำหรับการรับมืออุทกภัยในฤดูฝนของภาคใต้ช่วงเดือน ตุลาคม ซึ่งกองอำนายการชี้เป้าไว้ ว่าในเดือน ตุลาคม 2562 มี 12 จังหวัดทั้งภาคใต้ และภาคตะวันออกที่ต้องเฝ้าระวังถึงเดือน พฤศจิกายน 2562 พร้อมกับนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รมว.เกษตรฯให้ตั้งศูนย์บัญชาการบริหารจัดการน้ำ(ส่วนหน้า)เพื่อรับมืออุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้ ขึ้นในสัปดาห์หน้าเพื่อระดมความพร้อมทั้งเครื่องมือ เครื่องจักรกล ไว้ประจำจุดเสี่ยงน้ำท่วมทั้งหมด

ทั้งนี้ ที่ประชุมได้มีมติ ให้หน่วยงานดำเนินการประกอบด้วย การทำเกณฑ์บริหารน้ำแบบไดนามิค ที่กรมชลประทานได้มีการทำขึ้นในสมัย พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ อดีต รมว.เกษตรและสหกรณ์ ได้ออกแบบกันไว้
คือ การบริหารน้ำในอ่างจะเป็นไปตามพลวัตร เช่น การระบายน้ำออกต้องสอดคล้องกับปริมาณน้ำที่ไหลเข้า การทำเกณฑ์บริหารน้ำในอ่างเก็บน้ำศรีนครินทร์ วชิราลงกรณ แก่งกระจาน และนฤบดินทร์จินดา เกณฑ์บริหารจัดการน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดกลางที่มีปริมาณน้ำกักเก็บมากกว่า 50 ล้านลูกบาศก์เมตร(ลบ.ม.) ในภาคตะวันออก ภาคตะวันตกและภาคใต้ รวมถึงการทำผังแจ้งเตือนน้ำในแม่น้ำสายหลัก 18 สาย 12 จังหวัด อาทิ แม่น้ำเพชรบุรี แม่น้ำปราณบุรี แม่น้ำตาปี เป็นต้น ทั้งหมดให้รายงานในวันที่ 7 ตุลาคม นี้

นอกจากนั้น ที่ประชุมได้มีมติร่วมกันในการทำเกณฑ์แจ้งเตือน เพื่อให้ไปในทางเดียวกันและกำหนดสีของการแจ้งเตือนภัยในชุดเดียวกัน ได้แก่ สีเขียวสถานะปกติ สีส้มสถานะเฝ้าระวัง และสีแดงสถานะอันตราย จากที่ก่อนหน้าหลายหน่วยงานใช้สีในการแจ้งเตือนภัยต่างกัน จึงเร่งประชาสัมพันธ์ให้หน่วยงานและประชาชนรับทราบโดยทั่วกัน เพื่อการเฝ้าระวังต่อไป

“ทั้งนี้กรมชลฯ ได้สั่งการให้สำนักเครื่องจักรกล เตรียมความพร้อมอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร เครื่องผลักดันน้ำ เครื่องสูบน้ำ สะพานแบริ่ง และรถบรรทุก พร้อมในพื้นที่ดังกล่าว รวมทั้งประสานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ดูแลอ่างเก็บน้ำในพื้นที่ ” รองอธิบดีกรมชลฯกล่าว

โดยพื้นที่ตอนล่างของประเทศไทย ซึ่งในเดือน ตุลาคม 2562 มีจุดเสี่ยงภัยน้ำท่วมหรือน้ำล้นตลิ่ง 12 จังหวัด51 อำเภอ 18 แม่น้ำ ประกอบด้วยจังหวัดชลบุรี จันทรบุรี ตราด เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ชุมพร ระนอง พังงา กระบี่ และตรัง ส่วนในเดือน พฤศจิกายน 2562 มีจุดเสี่ยงภัยน้ำท่วมหรือน้ำล้นตลิ่ง 8 จังหวัด 44 อำเภอ 16 แม่น้ำ ประกอบด้วยจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ชุมพร ระนอง นราธิวาส สงขลา และพัทลุง

สำหรับสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั่วประเทศ ปัจจุบัน(2 ต.ค. 62) มีปริมาณน้ำในอ่างฯรวมกัน 50,842 ล้านลูกบาศก์เมตร(ลบ.ม.) คิดเป็นร้อยละ 67 ของความจุเก็บกักรวมกัน โดยมีปริมาณน้ำใช้การได้25,913 ล้าน ลบ.ม. หรือร้อยละ 52 ของความจุอ่างฯรวมกัน สามารถรับน้ำได้อีกกว่า 25,000 ล้าน ลบ.ม. เฉพาะ 4 เขื่อนหลักลุ่มน้ำเจ้าพระยา (เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์) มีปริมาณน้ำรวมกัน 12,217 ล้านลบ.ม. หรือร้อยละ 49 ของความจุอ่างฯรวมกัน มีปริมาณน้ำใช้การได้รวมกัน
5,521 ล้าน ลบ.ม. สามารถรองรับปริมาณน้ำตลอดในช่วงฤดูฝนนี้ได้รวมกันอีกกว่า 12,000 ล้าน ลบ.ม.

You May Have Missed!

1 Minute
ข่าวประชาสัมพันธ์
ครบรอบ 83 ปี สมาคมหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์…..มอบรางวัลเกียรติยศ “บุคคลในวงการหนังสือพิมพ์และสื่อออนไลน์ที่มีผลงานสร้างสรรค์”
1 Minute
ข่าวประชาสัมพันธ์
กรมส่งเสริมสหกรณ์ เริ่มแล้ว!!  Kick Off “สหกรณ์ออมดี มีสุข” เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สร้างวินัยการออมเพิ่มต่อยอดความมั่นคงในชีวิต
1 Minute
ข่าวประชาสัมพันธ์
“รัฐบาล” เปิดงานKick Off กิจกรรมแสดงพลังทำความดีกลุ่มผู้ต้องขัง เฉลิมพระเกียรติพระชนมพรรษา 6 รอบอย่างยิ่งใหญ่
1 Minute
โรงพยาบาล
ผู้บริหารโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ร่วมแสดงความยินดี เนื่องในวันคล้ายวันสถาปนาครบรอบ 22 ปี โรงพยาบาลสิรินธร