“กรมประมง เตือนเรือประมงพาณิชย์ เรือพื้นบ้าน มักชอบอ้างเรือเช่าทำประมงผิดกฏหมาย ฟังไม่ขึ้นอย่าอุปโลกสัญญาเช่า โดนทั้งเจ้าของและผู้เช่า เจอคดีอาญา แพ่งและถอนใบอนุญาตทำประมง”  

“กรมประมง เตือนเรือประมงพาณิชย์ เรือพื้นบ้าน มักชอบอ้างเรือเช่าทำประมงผิดกฏหมาย ฟังไม่ขึ้น อย่าอุปโลกสัญญาเช่า โดนทั้งเจ้าของและผู้เช่า เจอคดีอาญา แพ่งและถอนใบอนุญาตทำประมง”

เมื่อวันที่19ส.ค.นายอดิศร พร้อมเทพ อธิบดีกรมประมง เปิดเผยว่าล่าสุดศาลปกครองเพชรบุรี ได้มีคำวินิจฉัยในกรณีเจ้าของเรือยินยอมให้ผู้เช่านำเรือที่ให้เช่าไปทำการประมง โดยให้อาศัยสิทธิการทำประมง ตามใบอนุญาตของเจ้าของเรือ เพื่อให้ผู้เช่าสามารถนำไปอ้างต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้เช่นนั้น ย่อมถือได้ว่า เจ้าของเรือยินยอมให้ผู้เช่าเชิดตัวเขาเองเพื่อแสดงว่าเป็นตัวแทนของเจ้าของเรือเพื่อทำการประมงตามใบอนุญาตของเจ้าของเรือ เจ้าของเรือย่อมต้องรับผิดต่อรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือต่อบุคคลภายนอก เสมือนเป็นตัวการ โดยถือเสมือนว่าผู้เช่าเรือเป็นตัวแทนของเจ้าเรือตามมาตรา 821แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และหากจะถือว่าการทำสัญญาให้เช่าเรือ มีผลทำให้เจ้าของเรือ ไม่ต้องรับผิดในฐานะตัวการ และคณะกรรมการมาตรทางปกครองไม่สามารถสั่งเพิกถอนใบอนุญาตการทำประมงของเรือได้ ย่อมจะทำให้รัฐไม่สามารถสั่งลงโทษทางปกครอง เพิกถอนใบอนุญาตการทำประมงของเรือที่ทำผิดกฎหมายได้เลย เพราะเจ้าของเรือทุกลำจะหลีกเลี่ยงกฎหมาย ด้วยการทำสัญญาให้เช่าเรือแก่บุคคลอื่นที่ตนอุปโลกขึ้นมาให้เป็นผู้เช่าเรือ แล้วหยิบยกเอาสัญญาให้เช่าเรือดังกล่าวขึ้นมากล่าวอ้างว่า ตนไม่มีส่วนรู้เห็นกับการกระทำความผิดและไม่อาจสั่งลงโทษเพิกถอนใบอนุญาตทำการประมงของเรือลำนั้นได้ บทบัญญัติของกฎหมายที่ให้ลงโทษทางปกครองแก่เรือที่ทำการประมงผิดกฎหมายในกรณีดังกล่าว ย่อมไม่อาจมีผลบังคับใช้ได้ในทางปฏิบัติ และย่อมทำให้การแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมายไม่อาจบรรลุผลได้ตามหลักการหรือเหตุผลและเจตนารมณ์ของกฎหมาย

ทั้งนี้จากพระราชกำหนดการประมง 2558 และที่แก้ไขเพิ่มเติม 2560 ได้กำหนดให้ผู้ที่จะทำการประมงในประเทศไทยต้องขออนุญาตทำการประมงตามที่กฎหมายได้บัญญัติไว้ และผู้ที่ได้รับใบอนุญาตทำการประมงในน่านน้ำไทยมีความจำเป็นที่จะต้องเข้าใจในสิทธิและหน้าที่ รวมถึงความรับผิดชอบของตน และต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายได้กำหนดไว้ ทั้งที่ให้ผู้อื่นยืมหรือเช่าเรือประมงของตนที่มีใบอนุญาตทำการประมง แล้วออกไปกระทำความผิดตามกฎหมาย เจ้าของเรือย่อมต้องมีความผิดและต้องรับผิดชอบในการกระทำผิดกฎหมายนั้นด้วย โดยจะอ้างว่าได้ให้ผู้อื่นยืมหรือให้เช่าเรือประมง ซึ่งตนไม่รู้เห็นกับการกระทำความผิดดังกล่าวนั้นไม่ได้ แม้จะนำสัญญาให้เช่าเรือของทั้งสองฝ่ายมายืนยันก็ตาม

“ได้มีกรณีตัวอย่างของคดีในลักษณะนี้แล้ว ซึ่งเกิดขึ้นในพื้นที่ของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จึงเตือนผู้ประกอบอาชีพทำการประมงที่มีใบอนุญาตทำการประมงทั้งเรือประมงพาณิชย์และพื้นบ้าน  หากให้ผู้อื่นยืมหรือเช่าเรือของตนออกไปทำการประมง และผู้ยืมกระทำความผิดใดๆ ก็ตาม เจ้าของเรือไม่สามารถปฏิเสธความรับผิดชอบได้ ต้องรับโทษตามกฎหมายด้วย จะถูกเพิกถอนหรือพักใช้ใบอนุญาตทำการประมง” นายอดิศร กล่าว

 

You May Have Missed!

0 Minutes
ข่าวประชาสัมพันธ์
สมศ. เปิดรับสมัครเจ้าหน้าที่และลูกจ้างประจำสำนักงาน
1 Minute
กิจกรรมเพื่อสังคม ข่าวภูมิภาค
สภาสังคมสงเคราะห์เป็นห่วงคนพิการ เยี่ยมบ้านพร้อมมอบชุดเครื่องอุปโภคบริโภคให้คนพิการในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์
1 Minute
โรงพยาบาล
กิจกรรมปฐมนิเทศและพิธีมอบเสื้อกาวน์นักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 4 สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ร่วมกับ โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ (มฟล.-รพจ.) รุ่นที่ 9 ปีการศึกษา 2567
1 Minute
โรงพยาบาล
โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ จัดโครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงวัย จิตใจแจ่มใสหัวใจเบิกบาน