“อธิบดีกรมชลฯ หน้าใสหายกลุ้ม พายุ ” วิภา” พาฝนตกกระจายทุกภาคแก้ภัยแล้ง -ทำน้ำเข้าเขื่อนทั่วประเทศกว่า 145 ล้านลบ.ม.

“อธิบดีกรมชลฯ หน้าใสหายกลุ้ม พายุ ” วิภา” พาฝนตกกระจายทุกภาคแก้ภัยแล้ง -ทำน้ำเข้าเขื่อนทั่วประเทศกว่า 145 ล้านลบ.ม.

มีลุ้นพายุเข้าไทย1-2ลูก ช่วงเดือนส.ค.-ต.ค.นี้ เติมน้ำเขื่อนใหญ่น้ำน้อยวิกฤติ ต่ำกว่า30% 20แห่ง

ชี้4เขื่อนลุ่มเจ้าพระยา เหลือน้ำใช้เพียง 1 พันกว่าล้านลบ.ม.ยังระบายวันละ37ล้านลบ.ม.

 

เมื่อวันที่ 1 ส.ค.62 นายทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า  ศูนย์ปฏิบัติการอัจฉริยะน้ำ กรมชลประทาน รายงานข้อมูลจากกรมอุตุนิยมวิทยา ระบุเมื่อเวลา 04.00 น.วันนี้ (1 ส.ค. 62) พายุโซนร้อน “วิภา”มีศูนย์กลางอยู่บริเวณเกาะไหหลํา ประเทศ จีน คาดว่าในวันที่ 2 ส.ค.พายุนี้จะเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ซึ่งจะทําให้บริเวณประเทศไทยมีฝนต่อเนื่องและมี ฝนตกหนักบางแห่ง โดยเฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ ประกอบกับในช่วงวันที่ 1 – 6 ส.ค.มีอิทธิพลมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้และอ่าว ไทยจะมีกําลังแรงขึ้น จะทําให้ภาคใต้และภาคตะวันออกมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง

สภาพฝน ปริมาณสูงสุด5อันดับ ต.เปือ อ.เชียงกลาง จ.น่าน265มม. ต.น้ำรัด อ.หนองม่วงใข่ จ.แพร่75.5มม.ต.สวด อ.บ้านหลวง จ.น่าน75.0มม. ต.โซ่ อ.โซ่พิสัย จ.บึงกาฬ74.0มม. ต.ไผ่โทน อ.ร้องกวาง จ.แพร่69 มม.

สภาพน้ําในอ่างเก็บน้ําขนาดใหญ่และขนาดกลางทั่วประเทศ จำนวน447แห่ง ปริมาตรน้ําในอ่างฯ 35,695 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 47 เป็นปริมาตรน้ําใช้การได้ 11,803 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 23 ซึ่งปริมาตรนํ้าในอ่างฯ เทียบกับปี 2561 (52,094 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 68) น้อยกว่าปี 2561 จํานวน 16,399 ล้าน ลบ.ม.

ทั้งนี้ล่าสุดมีปริมาณน้ําไหลลงอ่างฯจํานวน 145.80 ล้าน ลบ.ม. ต่อวัน ปริมาณน้ําระบาย จํานวน 109.40 ล้าน ลบ.ม. มีพื้นที่ในอ่างสามารถรับน้ําได้อีก 40,373 ล้าน ลบ.ม.

แบ่งเป็นสภาพนํ้าในอ่างเก็บน้ําขนาดใหญ่ 35แห่ง ปริมาตรน้ําในอ่างฯ 33,887 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 48 (ปริมาตรน้ํา ใช้การได้ 10,374 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 22) ปริมาตรน้ําในอ่างฯ เทียบกับปี 2561 (48,909 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น ร้อยละ 69) น้อยกว่าปี 2561 จํานวน 15,021 ล้าน ลบ.ม. ปริมาณน้ําไหลลงอ่างฯจํานวน 129.50 ล้าน ลบ.ม. ต่อวัน ปริมาณ น้ําระบายจํานวน 94.17 ล้าน ลบ.ม. สามารถรับนํ้าได้อีก 37,039 ล้าน ลบ.ม.

แบ่งเป็นอ่างเก็บน้ำหลักในลุ่มเจ้าพระยา เขื่อนภูมิพล มีน้ำ4,383 ล้านลบ.ม.หรือ33% เป็นน้ำใช้ได้583ล้านลบ.ม.หรือ6% น้ำไหลเข้า1.66ล้านลบ.ม.ต่อวัน น้ำระบาย21ล้านลบ.ม. ยังมีช่องว่างรับน้ำได้อีก9,097ล้านลบ.ม. เขื่อนสิริกิติ์ 3,207 ล้านลบ.ม.หรือ34% น้ำใช้การ 357ล้านลบ.ม.หรือ5% น้ำไหลเข้า15.84 ล้านลบ.ม. ระบายออก14ล้านลบ.ม.รับน้ำได้อีก 6,303ล้านลบ.ม. รวมสองเขื่อน มีน้ำ7,590ล้านลบ.ม.33% น้ำใช้การ940ล้านลบ.ม.น้ำไหลเข้า17.50ล้านลบ.ม.นำ้ระบาย34.87ล้านลบ.ม.สองเขื่อนรับน้ำได้อีก 15,328ล้านลบ.ม.
เขื่อนแควน้อยฯมีน้ำ117ล้านลบ.ม.4%ใช้การได้74 ล้านลบ.ม.8%น้ำไหลเข้า6.3ล้านลบ.ม.น้ำระบาย1.73ล้านลบ.ม. รับน้ำได้อีก 822ล้านลบ.ม. เขื่อนป่าสักฯ34ล้านลบ.ม. 4%ใช้การได้ 31ล้านลบ.ม.3% ไม่มีน้ำไหลเข้า น้ำระบาย4.4แสนลบ.ม. รับน้ำได้926ล้านลบ.ม.

รวม4เขื่อนใหญ่ มีน้ำ7,741ล้านลบ.ม.31%ใช้การได้1,045ล้านลบ.ม.6%น้ำไหลเข้ารวม18.13ล้านลบ.ม.ระบาย37.18ล้านลบ.ม.ต่อวัน รับน้ำได้อีห17,130  ล้าน ลบ.ม.

สำหรับสถานการณ์น้ำในอ่างขนาดใหญ่มีน้ำใช้การน้อยกว่า 30% จำนวน20เขื่อน เช่นเขื่อนแม่งัด 25% เขื่อนแม่กวง 11% เขื่อนกิ่วคอหมา19% เขื่อนจุฬาภรณ์ 3%  เขื่อนป่าสัก 3%  เขื่อนสิริธร 8%  เขื่อนแควน้อย 8%  เขื่อนกระเสียว 9% เขื่อนขุนด่าน 14% เขื่อนน้ำพุง 15% เขื่อนลำพระเพลิง 14% เขื่อนห้วยหลวง 16% เขื่อนอุบลรัตน์-1% เขื่อนแม่มอก เขื่อนคลองสียัด 6%  เขื่อนนฤบดินทรจินดา 16%  เขื่อนลำปาว 18%  เขื่อนลำนางรอง 17%  เขื่อนมูลบน 21% เขื่อนลำแซะ24%

 

นายทองเปลว กล่าวว่าพายุโซนร้อนวิภา และอิทธิพลมรสุมในอ่าวไทย อันดามัน มีกำลังแรงขึ้นทำให้ฝนตกหลายพื้นที่ โดยเฉพาะภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่งผลให้มีน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำของเขื่อนขนาดใหญ่ 35 แห่ง ช่วงวันที่ 30 – 31 ก.ค.รวม 100.93 สำหรับ 4 เขื่อนใหญ่ลุ่มเจ้าพระยาได้แก่ ภูมิพล สิริกิติ์ แควน้อยบำรุงแดน และป่าสักชลสิทธิ์มีน้ำไหลเข้าตั้งแต่ วันที่ 30 ก.ค. – 1 ส.ค. รวม 42.20 ล้านลบ.ม.

นายทองเปลว กล่าวว่า ขณะนี้กรมอุตุฯประเมินแนวร่องฝน ยังอยู่บริเวณจีนตอนใต้ซึ่งช่วงเดือนนี้ จะขยับลงสู่ประเทศไทย ภาคเหนือ ภาคกลางของไทย และร่องฝนอยู่จนถึงต้นเดือนต.ค.จะมีปริมาณฝนตกเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ทิศทางพายุที่ก่อตัวในมหาสมุทรแปซิฟิก ระหว่างนี้มีแนวโน้มเข้าสู่ประเทศไทยโดยตรง 1-2 ลูก เป็นผลดีกับเขื่อนทั่วประเทศได้รับน้ำเพิ่มขึ้น โดยเมื่อเข้าหน้าฝนเต็มตัวจะลดระบายน้ำเขื่อนใหญ่ลุ่มเจ้าพระยา เหลือวันละ 18 ล้านลบ.ม และทะยอยปรับลดลง กักเก็บฝนเข้าเขื่อนให้มากที่สุด เพื่อให้มีน้ำเพียงพอทุกกิจกรรมในอีก9เดือนข้างหน้า

ทางด้าน นายสุรพงศ์ สารปะ ผู้อำนวยการส่วนพยากรณ์อากาศเชิงตัวเลข กรมอุตุนิยมวิทยา  กล่าวว่า พายุโซนร้อน​วิภาที่กำลัง​เคลื่อนผ่านจีนตอนใต้และจะอ่อนกำลังลงเป็น​พายุ​ดีเปรสชัน​เมื่อเข้าสู่เวียดนามตอนบนในวันที่ 2 ส.ค. ต่อมาจะกลายเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณสปป.ลาว ปกคลุม​ถึงภาคเหนือของไทยจะส่งผลให้ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนตกมากขึ้น ทั้งนี้ต้นลำน้ำปิงจะมีน้ำเพิ่มขึ้น แล้วไหลเข้าสู่เขื่อนภูมิพล จ.ตาก ส่วนที่จ.น่านหลายพื้นที่มีฝนตกต่อเนื่อง 24 ชั่วโมงเกินกว่า 100 มม.ทำให้น้ำแม่น้ำน่านที่ไหลลงสู่เขื่อนสิริกิติ์ มีน้ำเพิ่มขึ้นเช่นกัน

ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือขณะนี้ ฝนยังตกอยู่เฉพาะบริเวณชายขอบประเทศ ส่งผลให้สถานการณ์น้ำของแม่น้ำสายหลักที่เชื่อมกับแม่น้ำโขงดีขึ้นแล้ว ช่วยให้ข้าวที่รอน้ำฝนอยู่ฟื้นตัวได้ ส่วนตอนกลางของภาคนั้นฝนยังน้อยอยู่ ดังนั้นเขื่อนที่มีน้ำอยู่ในเกณฑ์วิกฤติอย่างเขื่อนอุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่นต้องรอฝนจากพายุที่จะเข้าสู่ประเทศไทยโดยตรง ขณะนี้บริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกมีพายุก่อตัวถี่ขึ้นแล้ว โดยเฉลี่ยจะมีพายุก่อตัวปีละประมาณ 25 ลูก โดยพายุ “วิภา” เป็นลูกที่ 7 ของปีนี้ จึงยังมีพายุที่จะก่อตัวได้อีก 18 ลูก ปกติแล้วพายุที่จะเคลื่อนตัวเข้าไทยโดยตรงเฉลี่ย 1.9 ลูกต่อปี เมื่อเขื่อนมีน้ำมากขึ้นในช่วงปลายฤดูฝนนี้คาดว่า น้ำจะเพียงพอใช้จนถึงสิ้นฤดูแล้งหน้าปี63