สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาน่าน จัดกิจกรรมเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “Symposium AL all day”

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาน่าน จัดกิจกรรมเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “Symposium AL all day”

เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2566  ณ โรงแรมน่านกรีนเลควิวรีสอร์ท อำเภอเมืองน่านจังหวัดน่าน นางพวงทอง ศรีวิลัย  ผู้อำนวยการสำนักเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นประธานพิธีเปิด กิจกรรมเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “Symposium AL all day” โดยมี นางนภาพร แสงนิล  ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาน่าน กล่าวรายงาน และนางโสภา ชวนวัน รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาน่าน ในนามของคณะกรรมการจัดกิจกรรมเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “Symposium AL all day” ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาน่าน ประจำปี 2566 จัดขึ้นภายใต้ โครงการขับเคลื่อนการบริหารจัดการและพัฒนาหลักสูตรการจัดการเรียนการสอนอิงวัฒนธรรมพื้นถิ่นเพื่อสร้างเส้นทางอาชีพ โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบ Active Learning เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ นำเสนอผล วิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ หรือนวัตกรรม (Best Practice) ของการขับเคลื่อนการบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยผ่าน กระบวนการปฏิบัติที่หลากหลายรูปแบบ โดยอิงวัฒนธรรมพื้นถิ่น เพื่อสร้างแนวทาง ในการประกอบอาชีพของนักเรียน ตามนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐาน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านความปลอดภัย ด้านโอกาส ด้านคุณภาพ และด้านประสิทธิภาพ

โดยมีกิจกรรม

  1. การนำเสนอผล วิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศหรือนวัตกรรม (Best Practice) การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) โดยอิงวัฒนธรรมพื้นถิ่น ประเภทครูผู้สอน ทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน จำนวน 36 นวัตกรรม และประเภท รองผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน 4 นวัตกรรม
  2. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการนำเสนอผลการดำเนินงาน ในการยกระดับ คุณภาพการบริหารจัดการโรงเรียนคุณภาพเชิงพื้นที่ โดยใช้กลุ่มโรงเรียนตามวัตถุประสงค์เป็น ฐาน เทียบเคียงโรงเรียนคุณภาพ จำนวน 11 โรงเรียน
  3. การบรรยายพิเศษ เรื่อง แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประวัติศาสตร์
    วิถีใหม่ วิถีน่าน โดยอาจารย ์ สมเจตน์ วิมลเกษม ผู้ทรงคุณวุฒิด้านประวัติศาสตร์เมืองน่าน และการนำเสนอผลงาน วิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศหรือนวัตกรรม (Best Practice) การจัดการ เรียนรู้ประวัติศาสตร์วิถีใหม่ วิถีอนาคต บูรณาการแหล่งเรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น เพื่อ เสริมสร้างความภูมิใจในท้องถิ่นจังหวัดน่าน ประเภทครูผู้สอน จำนวน 3 นวัตกรรม และ ประเภทสถานศึกษา จำนวน 3 นวัตกรรม
  4. การนำเสนอผลการพัฒนางานตามข้อตกลง (วPA) ที่เป็นวิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศหรือนวัตกรรม  (Best Practice) ของผู้อำนวยการ โรงเรียน จำนวน 30 โรงเรียน โดยกิจกรรม ประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงเรียนในสังกัด จำนวน 30 คน  รองผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน 30 คน ครูผู้สอนจำนวน 118 คน รวมจำนวนทั้งสิ้น 178 คน บุคลากรทางการศึกษาและเจ้าหน้าที่ ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาน่าน

ด้าน นางพวงทอง ศรีวิลัย  ผู้อำนวยการสำนักเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กล่าวว่า ในนามตัวแทนของเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ได้มาเยี่ยมการจัดกิจกรรมดังกล่าวของจังหวัดน่าน ในวันนี้ต้องการให้พื้นที่บูรณาการการจัดแสดงการสอนโดยใช้เทคโนโลยีเพื่อลดความเหลื่อมล้ำในเรื่องต่างๆของเด็กๆนักเรียนทุกกลุ่มทุกทุกกลุ่มทุกประเทศแล้วก็ครอบคลุมทั่วทุกพื้นที่ด้วยดังนั้นการจัดกิจกรรมก็จะเกี่ยวข้องกับในเรื่องของเทคโนโลยีไปด้วยแล้วก็ในเรื่องของโอกาสที่เราจะทำยังไงที่จะให้โอกาสเด็กๆได้มีความเสมอภาคเท่าเทียมกันโดยใช้เทคโนโลยีและที่สำคัญที่สุดคือเป็นการจัดทำศักยภาพของผู้เรียนแล้วก็คุณครูในเรื่องของ Best Top Shake ก็ถือว่าเป็นกิจกรรมที่ตอบโจทย์ความต้องการของทั้งผู้เรียนทั้งคู่ครองและสังคมและที่สำคัญที่สุดก็คือจะเป็นกิจกรรมที่ครูพื้นฐานไปถึงอาชีพของเด็กๆในอนาคตด้วยเพราะว่าอาชีพของเด็กๆในอนาคตคงเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง เนื่องจากว่าหลังจากนี้ ณขณะนี้ประเทศไทยเปลี่ยนโฉมเป็นประเทศที่อาจใช้เทคโนโลยีในการในทุกมิติแล้ว ดังนั้นผู้เรียนของเราก็จะต้องมีความรู้ในภูมิต้านทานในเรื่องของทั้งๆตัวเองจะใช้เทคโนโลยีให้เป็นประโยชน์อย่างไรกับชีวิตประจำวันแล้วก็ใช้เทคโนโลยีอาจเป็นฐานเป็นเครื่องมือในการที่จะมีพื้นฐานอาชีพของตัวเองได้อย่างไร

ด้าน นางนภาพร แสงนิล  ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาน่าน เปิดเผยว่า การจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในวันนี้ ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาน่าน ได้มีการดำเนินการตลอดปีการศึกษาจนถึงวันนี้ก็คือการนำกระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก Active Learning ลงสู่หลักสูตรวันนี้คุณครูได้จัดการเรียนรู้ที่มีผลการปฏิบัติงานที่เป็นเลิศของแต่ละกลุ่มสาระภาษาไทย สังคมวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ศิลปะดนตรี กีฬา ก็ขอคัดกันแล้วเราจะผ่านสถานวิทยาเขตในการคัดเลือกครูแต่ละกลุ่มสาระที่เป็นหนึ่งเท่านั้นใน 4 สหาย นำมาเสนอในวันนี้เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และก็คัดเบสออฟเดอะเบสที่นี้ การจัดการเรียนรู้เชิงรุกของเราจะเน้นไปที่อิงวัฒนธรรมพื้นถิ่นวิถีน่านซึ่งแปลว่าเราได้นำเรื่องของประวัติศาสตร์นำเรื่องของอาชีพนำเรื่องของวัฒนธรรมในจังหวัดน่าน ลงไปสู่การจัดการเรียนการสอนสู่ลูกๆนักเรียนของเราเพื่อให้เขาได้ธำรงรักษาสืบทอดแล้วก็ต่อยอดจากของเดิมให้ยังคงอยู่แล้วก็สามารถประกอบอาชีพได้ในอนาคตต่อไป


ด้าน นางกัณฐมณี ปาคำ ศึกษานิเทศก์ สพม.น่าน กล่าวว่า ที่โดยเราใช้อาจจะใช้เทคโนโลยีมาเป็นเครื่องมือในการที่จะทำให้สมัยใหม่กับสมัยเก่าสามารถอยู่ร่วมกันได้แล้วก็ทำให้นักเรียนมีอาชีพในอนาคต เราก็จะสร้างภูมิต้านทานได้แก่เด็กๆ โดยคุณครูไม่จำเป็นต้องจบเอกคอมพิวเตอร์แล้ว แต่เดี่ยวนี้คุณครูทุกคนต้องมีความรู้เรื่องเทคโนโลยี แน่นอนอันนั้นก็จะเกิดปัญหาได้ดังนั้นก็ต้องบอกว่าวันนี้กิจกรรมที่บูรณาการทั้งในเรื่องของวัฒนธรรมในเรื่องของเทคโนโลยีนวัตกรรมและก็ในเรื่องของกลุ่มสาระทุกกลุ่มสาระเอามาแสดงศักยภาพของแต่ละเขตแต่ละโรงเรียนแล้ว ก็ถือว่าวันนี้เป็นเวทีที่สำคัญที่จะทำให้เด็กๆได้แสดงออกแล้วก็ทางโรงเรียนต่างๆก็จะได้แสดงให้เห็นว่าไม่ว่าโรงเรียนของตัวเองจะอยู่ไกลแค่ไหนกันดารแค่ไหนอยู่ตามขอบเขาหรือเกาะแก่งที่ไหนอย่างไรก็ตาม สพฐ.ก็จะไม่ทอดทิ้งพวกเขาเหล่านั้นไม่ว่าจะเป็นนักเรียนหรือโรงเรียนซึ่งในแผนที่เราจะพัฒนาใน ปีการศึกษาต่อไป ก็จะพยายามใช้เทคโนโลยีนี้ เป็นเครื่องมือในการลดความเหลื่อมล้ำโดยเฉพาะในเรื่องของเครือข่ายสัญญาณอินเทอร์เน็ตที่ทุกโรงเรียนจะต้องมีเท่าเทียมกันแล้วก็ผู้เรียนจะต้องเข้าถึงประสบการณ์และองค์ความรู้ต่างๆด้วยตัวเองได้ทุกที่ทุกเวลา

 

ประสิทธิ์ สองเมืองแก่น จ.น่าน